top of page

ROMAN (อารยธรรมโรมัน)


อารยธรรมโรมัน โรมันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลีริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน (1,000 B.C.) ซึ่งมีที่ราบอันกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ มีที่ราบละติอุ่ม อยู่ทางตอนใต้ของกรุงโรมสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างเต็มที่ บริเวณหุบเขามีป่าไม้เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์ ชายฝั่งทะเลก็สะดวกในการทำการค้ากับต่างแดน

เมื่อ 700 ปีก่อน ค.ศ. พวกอีทรัสกัน ได้ขยายอาณาเขตเข้ามาในคาบสมุทรอิตาลีและเข้ายึดกรุงโรมได้ เมื่อ 509 ปีก่อนค.ศ. ชาวละตินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกโรมันได้โค่นล้มอำนาจกษัตริย์ของอีทรัสกันลงได้ โรมันมีความเจริญและยิ่งใหญ่จนสามารถเข้ายึดครองกรีกโบราณได้ ทั้งหมดแต่ในทางกลับกัน โรมันกลับตกเป็นเมืองขึ้นของวัฒนธรรมของกรีก เพราะโรมันได้ยึดเอาอารยธรรมหรือความเจริญของกรีกมาใช้เกือบทั้งหมด แต่ยังพอมีผลงานที่โรมันได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง และจัดว่าเป็นความเจริญแท้ๆของโรมัน ไม่ได้ลอกของกรีกมา คือ การจัดการปกครองแบบสาธารณรัฐ, ระบบกฎหมาย 12 โต๊ะ

- ด้านการปกครอง ปกครองแบบจักรวรรดิ รวมอำนาจไว้ที่ซีซาร์ (กษัตริย์) ภายหลังการขับไล่กษัตริย์โรมลงสุดท้ายออกไป จึงมีการสถาปนา “กฎหมาย 12 โต๊ะ” ซึ่งเป็นแม่แบบกฎหมายของโลกตะวันตกปัจจุบัน และมีการปกครองแบบสาธารณรัฐเป็นที่แรก

- ด้านการแพทย์ ริเริ่มทำคลอดหน้าท้อง และการใช้ยาสลบก่อนผ่าตัด

- สถาปัตยกรรม เน้นความใหญ่โตแข็งแรง ดัดแปลงสถาปัตยกรรมแบบกรีก เช่น ใช้ประตูโค้ง ,ใช้หลังคาโดมแทนจั่ว สถานที่สำคัญ เช่น โคลอสเซียม ,วิหารแพนธีออน ,ที่อาบน้ำสาธารณะ

- ประติมากรรม ดัดแปลงมาจากรีก เน้นความสมจริง เช่น ภาพแกะสลักครึ่งท่อนบน และภาพแกะสลักนูนต่ำ

- วิศวกรรม สร้างถนนคอนกรีต และสะพานส่งน้ำเพื่อขนส่งน้ำวันละ 300 ล้านแกลลอนจากภูเขาไปยังเมือง

- สงคราม สงครามพิวนิก (โรมันรบกับคาร์เทจ) โรมันรบชนะ ได้ครองดินแดนอิตาลี และทะเลเมดิเตอเรเนียน

- ภาษา โรมันพัฒนา “ภาษาละติน” จากกรีก มี 23 พยัญชนะ เป็นรากของภาษายุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ภาษาละตินถูกนำไปใช้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับภาษากรีก

การสิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยโบราณ

หลังจากที่โรมันแบ่งออกเป็นโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตก ชนเผ่ายุโรปหรือชนเผ่าติวตอนิก ได้เข้าโจมตีโรมันตะวันตก ในปี ค.ศ.476 เป็นการสิ้นสุดโรมันตะวันออก และประวัติสาสตร์สมัยโบราณ แต่โรมันตะวันตกยังคงอยู่ต่อไปในสมัยกลาง เป็นที่รู้จักในนาม “จักรวรรดิไบเซนไทน์” มีเมืองหลวงชื่อ “คอนสแตนติโนเปิล”

Comments


RECENT POSTS:
SEARCH BY TAGS:
bottom of page