top of page

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

มาตรฐานส1.1 รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

มาตรฐานส 1.2 เข้าใจ  ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี  และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

 

สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

มาตรฐาน ส 2.1  เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม
และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่าง
สันติสุข 

มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์

มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

 

สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ  อย่างเป็นระบบ

มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ  วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย   มีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

 

สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์

มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ  และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน ส 5.2  เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ ก่อให้เกิด  การสร้างสรรค์วัฒนธรรม  มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์   ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

หน่วยการเรียนรู้

1. อธิบายลักษณะอารยธรรมตะวันตกตั้งแต่สมัยใหม่ ในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะและ วัฒนธรรม วิทยาการและเทคโนโลยี ตลอดจนการแพร่ขยายของอารยธรรมตะวันตกไปยังภูมิภาคต่างๆ ของโลก

2.สามารถวิเคราะห์อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการของประเทศไทย และประเทศทั่วโลกในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาการและเทคโนโลยีได้

3.สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์วิเคราะห์เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ได้

4. สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์พัฒนาการของมนุษยชาติในด้านต่างๆตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่มีผลต่อมนุษยชาติทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะวัฒนธรรม วิทยาการและเทคโนโลยีและสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในโลก ในยุคสมัยศตวรรษที่ 21 ได้

bottom of page