top of page

สมัยใหม่

สมัยใหม่ ช่วงศตวรรษที่15-20ในยุคฟื้นฟูฯอิตาลีรุ่งเรืองและผูกขาดการค้าทั้งทางทะเล

เมดิเตอร์เเนียน และทางบกที่ติดกับเอเชียโดยชาวมุสลิมในอิตาลี ประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ , โปรตุเกส , สเปน ต้องหาเส้นทางการค้าอื่น นอกจากนั้น อิทธิพลของคริสตจักรที่ควบคุมการนับถือศาสนาและการดำเนินชีวิตทั้งหมด ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายและคิดอพยพไปดินแดนอื่น อีกประการหนึ่งคือแนวคิดเรื่องโลกกลมในยุคฟื้นฟูฯ ทำให้มีผู้อยากสำรวจเส้นทางมากขึ้น


การแสวงหาอาณานิคมของโปรตุเกสในแอฟริกาและอินเดีย

เจ้าชายเฮนรี่ได้ส่งคนเดินทางไปสำรวจถึงฝั่งนิวกินี ต่อมานักเดินเรือชาวโปรตุเกสได้เดินทางเลียบชายฝั่งแอฟริกาจนผ่านแหลมกุ๊ดโฮปทางใต้สุดของแอฟริกาได้สำเร็จ หลังจากนั้นวาสโก ดากามา ได้ออกเดินทางจากโปรตุเกสอ้อมแหลมกุ๊ดโฮปจนไปถึงฝั่งตะวันตกของอินเดีย นับว่าเป็นการค้นพบเส้นทางเดินเรือสายใหม่ระหว่างยุโรปกับเอเชีย ซึ่งเป็นสิ่งที่จูงใจให้ชาวยุโรปเดินทางมาค้าขายกับเอเชีย

การแสวงหาอาณานิคมของสเปน

ค.ศ.1492 อิสเบลลา แห่งสเปน ส่งคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ให้เดินทางไปสำรวจทางตะวันตกและได้พบกับหมู่เกาะบาฮามาสและเขาได้เดินทางสำรวจอีกหลายครั้ง ต่อมา เฟอร์ดินาน แมกเจลแลน นักเดินเรือชาวโปรตุเกสได้อาสาราชสำนักสเปนสำรวจอเมริกาใต้ ได้เดินทางเข้ามาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก จนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์แต่เข้าก็ได้ถูกชนพื้นเมืองฆ่าตาย ซึ่งการเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางรอบโลกโดยเรือสำเร็จและเป็นครั้งแรกที่พิสูจน์ได้ว่าโลกกลม


จากการสำรวจและค้นพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปมายังเอเชีย ส่งผลให้อาชีพค้าขายมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสามารถนำความมั่งคั่งมาสู่ตัวเองและรัฐชาติได้ พ่อค้าจึงกลายเป็นชนชั้นกลางที่มีอิทธิพลในยุโรป ส่งผลให้เกิดลัทธินิยมในการค้า โดยประชาชนในรัฐต่างๆ ได้หันมาทำการค้าขาย ลัทธิพาณิชยนิยมเจริญรุ่งเรืองในยุโรปและมีการล่าอาณานิคมในดินแดนใหม่ของประเทศต่างๆตามมา และที่สำคัญส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆในยุโรปหลายเหตุการณ์ เช่น

1. การปฎิรูปศาสนา เกิดขึ้นโดย มาร์ติน ลูเทอร์ นักบวชชาวเยอรมนีทำการประท้วงเรื่องไม่พอใจการขายใบไถ่บาป และสันตะปาปา เกิดนิกายโปรแตสแตนท์ เชื่อว่ามนุษย์ติดต่อพระเจ้าได้โดยตรง ผู้มีบทบาทในการปฏิรูป เช่น จอร์น คาลวิน (นิกายคาลวิน ในสวิสต์เซอร์แลนด์)

พระเจ้าเฮนรีที่8 แห่งอังกฤษ (นิกายแองกิลกัน เพราะต้องการหย่า) เป็นต้น แต่ก็มีกลุ่มที่ต่อต้านการปฏิรูปศาสนา เช่น นิกายเจซูอิต

2. การเกิดรัฐชาติ ประชาชนเกิดสำนึกในความเป็นชาติ เริ่มใช้ภาษาของตนเอง เกิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์รวมอำนาจได้ (ผลมาจากการปฏิวัติทางการค้า)

3. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ มนุษย์เน้นการใช้เหตุผล หาความจริงโดยการทดลอง เชื่อมั่นในตนเอง เกิดนักวิทยาศาสตร์เพียบ ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติทางภูมิปัญญา ใน ศ.18 จนได้รับฉายาว่า "ยุคภูมิธรรม" และ"ยุคการใช้เหตูผล" นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ เช่น





นิโคลัส โคเปอร์นิคัส เสนอว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของ

จักวาล และโลกรวมทั้งดาวเคราะห์ โครจรรอบดวงอาทิตย์


กาลิเลโอ กาลิเลอี สร้างกล้องโทรทัศน์ เพื่อดูการเคลื่อนไหวของดาว



โจฮันเนส แคปเลอร์ ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี มิใช่ วงกลม

เซอร์ไอแซก นิวตัน กฎแรงดึงดูดและเเรงโน้มถ่วง

เซอร์ฟรานซิส เบคอน บอกว่าวิทย์ที่ดีต้องเน้นการทดลอง

เรอเน เดตการ์ต ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ มาตรวจสอบข้อเท็จจริง

[endif]--![endif]--

4. การปฏิวัติเกษตรกรรม เป็นการนำวิทยาการสมัยใหม่มาปรับปรุงการเกษตรให้ดีขึ้น เริ่มที่อังกฤษ เกิดการทำนาระบบล้อมรั้ว บำรุงและคัดเลือกพันธุ์พืชบำรุงดิน เกิดเครื่องมือทางการเกษตร เช่น เครื่องหว่านเมล็ดพืช เครื่องกำจัดวัชพืช

5. การปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดในช่วง ศ.18 เป็นการเปลี่ยนการผลิตจากการใช้แรงงานคนเป็นเครื่องจักร เกิดระบบโรงงาน เกิดขึ้นครั้งแรกที่อังกฤษ ในอุตสาหกรรมทอผ้า

สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

- การขยายตัวทางการค้าและการลงทุน

- การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

ระยะการปฏิวัติอุตสาหกรรม

- ระยะที่ 1 ยุคถ่านหิน(รถไฟ)ใช้ถ่านหิน+ไอน้ำ+เหล็ก เครื่องจักรส่วนใหญ่รองรับอุตสาหกรรมทอผ้า

- ระยะที่ 2 ใช้ไฟฟ้า+ก๊าซธรรมชาติ+น้ำมัน ยังเป็นยุค "เหล็กกล้า"ในช่วงนี้ เยอรมนีกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจแทนอังกฤษ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

- ประชากรเพิ่มขึ้น

- เกิดชนชั้นนายทุน vs กรรมกร

- เกิดความคิดทุนนิยม

- แนวคิดสังคมนิยม

- ลัทธิจักรวรรดินิยม

6. ยุคกษัตริย์ทรงภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย คือ กษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถือว่ากษัตริย์เป็นผู้รับใช้รัฐและประชาชน ใช้เหตุผลและกฎหมายปกครองบ้านเมือง เกิดแนวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน นักปรัชญาทางการเมือง เช่น

โทมัส ฮอบส์ เชื่อในระบบกษัตริย์ แต่ไม่เชื่อว่ากษัตริย์มีอำนาจเทวสิทธิ แต่อำนาจของกษัตริย์เกิดจากความยินยอมของประชาชน (ประชาชนล้มอำนาจของกษัตริย์ไม่ได้)

จอห์น ลอค เชื่อว่า "รัฐบาลตั้งขึ้นมาด้วยความยินยอมของประชาชนและต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของประชาชน" เน้นเรื่องสิทธิธรรมชาติและเสรีภาพ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจทางการเมือง เป็นแนวคิดประชาธิปไตยสมัยใหม่ (ประชาชนตั้งรัฐบาลและสามารถล้มรัฐบาลได้)

มองเตสกิเออร์ เน้นการแบ่งอำนาจเป็น 3 ฝ่าย คือนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แยกกันอิสระแต่ถ่วงดุลกัน มีอิทธิพลต่อรัฐธรรมนูญของอเมริกาและฝรั่งเศษ

ณอง ชาร์ค รุสโซ มีแนวคิดว่า ประชาชนให้อำนาจแก่ผู้นำและรัฐบาลไปแล้ว ถ้าบริหารไม่ดีก็ล้มซะ (อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน)

8. การปฎิวัติครั้งใหญ่ของโลกตะวันตก

การปฎิวัติอังกฤษ

สมัยก่อน ในอังกฤษ กษัตริย์ และสภา ชอบแย่งชิงความเป็นใหญ่ ในค.ศ.1215 เกิด กฎบัตรแมกนาการ์ตา รัฐสภาเริ่มจำกัดอำนาจกษัตริย์เรื่องการเก็บภาษี -อังกฤษกลายเป็นสาธารณรัฐ ไม่มีกษัตริย์ช่วงหนึ่ง มีผู้นำคือ โอลิเวอร์ ครอมเวลส์ แต่พอเค้าตาย ระบบกษัตริย์ก็กลับมาปกครองอีกรอบ ค.ศ.1688 เกิดการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) เป็นการสิ้นสุดระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษ กษัตริย์อยู่ใต่รัฐธรรมนูญ รัฐสภาชนกุมอำนาจได้ต่อมามีการออก พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ หรือ Bill of Right เพื่อย้ำว่า กษัตริย์ไม่ามารถใช้อำนาจตามใจได้แล้ว และกฎหมายนี้ยังเป็นรับรองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน รวมทั้งอำนาจรัฐสภา -อังกฤษเป็นต้นแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ในปัจจุบันมีพรรคการเมืองที่มีบทบาทอย่างมากคือ พรรคอนุรักษ์นิยม (พรรค Conservative) และพรรคแรงงาน (พรรค Labor)

การปฎิวัติอเมริก

-เมื่อก่อน USA เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เรียกว่า New England แต่คนที่มาตั้งรกรากใน USA ก็เป็น ชาวอังกฤษทั้งนั้นแหละ

-อังกฤษเริ่มขูดรีดชาวอาณานิคมเกินไป โดยเฉพาะการเก็บภาษี เค้าเริ่มทนไม่ได้

-ชาวอาณานิคมบอกว่า “ไม่เสียภาษี ถ้าไม่มีผู้แทน”

-ชาวอาณานิคมทำสงครามกับอังกฤษ เกิดเหตุการณ์น้ำเลี้ยงน้ำที่บอสตัน เอาใบชาจากเรือบรรทุกสินค้าของอังกฤษที่เทียบท่าที่บอสตันไปทิ้งทะเล แสดงการต่อต้านการเก็บภาษีใบชา

-ผู้นำสูงสุดของกองทัพอเมริกา คือ นายพลจอร์จ วอชิงตัน ทำสงครามประกาศอิสรภาพ ประกาศเอกราช 4 กรกฎาคม 1776 และต่อมาเป็นประธานาธิบดีคนแรก รวบรวม 13 มลรัฐจัดตั้งอเมริกา

-คำประกาศอิสรภาพของอเมริกา ร่างโดย โทมัส เจฟเฟอร์สัน ระบุไว้ว่า “ชีวิต เสรีภาพและการแสวงหาความสุข” เป็นของชาวอเมริกา ใครจะมาขโมยไปไม่ได้

-รัฐธรรมนูญของอเมริกา ได้รับอิทธิพลจาก มองเตสกิเออร์ เรื่องการแบ่งอำนาจ 3 ส่วน และเรื่องสิทธิเสรีภาพจาก จอห์น ลอค และถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของโลก

-การปฏิวัติของอเมริกา สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดปฏิวัติฝรั่งเศส 1789

-ประธานาธิบดีมอนโร ประกาศลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ว่าห้ามชาวยุโรปเข้ามายุ่งกิจการของอเมริกา และอเมริกาก็จะไม่ยุ่งกิจการในยุโรปด้วย

-สมัยสงครามกลางเมือง เกิดปัญหาเรื่องทาส ทำให้อเมริกาฝ่ายเหนือและใต้ทำสงครามกัน ในที่สุดฝ่ายเหนือชนะ ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอร์น ประกาศเลิกทาส

-สหรัฐอเมริกา เป็นต้นแบบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี มี 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ พรรคเดโมแครต และพรรคคริพับริกัน

การปฎิวัติฝรั่งเศษ

-ในฝรั่งเศสมีสภาฐานันดร 3 สภา คือ พระ ขุนนางและประชาชน พระกับขุนนางเป็นสภาไฮโซ จะร่วมมือกันค้านสภาประชาชน

-ตอนนั้น เงินในคลังของฝรั่งเศสใกล้จะหมดแล้ว เศรษฐกิจแย่มาก เพราะนำเงินไปใช้ทำสงครามนอกประเทศ การค้าตกต่ำ แต่ในวังแวร์ซายส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังหรูหรา ฟุ่มเฟือย แต่ประชาชนเดือดร้อน ไม่มีแม้แต่ขนมปังจะกิน แต่รัฐบาลดันไปเก็บภาษีประชาชนเพิ่ม ประชาชนก็โมโหเลยชุมนุมกัน

-พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สั่งยุบสภาฐานันดร ประชาชนฝรั่งเศส รวมตัวกันตั้ง สมัชชาแห่งชาติ แล้วประกาศ คำปฎิญญาที่สนามเทนนิส ข้างพระราชวังแวร์ซายส์ ว่าจะประชุมกันต่อไปจนกว่าจะร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ

-ชาวฝรั่งเศสชูคำขวัญการปฏิวัติ “เสรีภาพ เสมอภาพและภราดรภาพ”

-เหตุการณ์ 14 กรกฎาคม 1789 ประชาชนบุกทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความไม่ยุติธรรม ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส ต่อมาวันนี้กลายเป็นกลายเป็นวันชาติฝรั่งเศสในปัจจุบัน

-มีการประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง เพื่อประกันสิทธิ เสรีภาพของประชาชน

-อุดมการณ์ปฏิวัติแพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆในยุโรป เค้าก็กลัวว่าจะเกิดขึ้นในประเทศตนซึ่งยังปกครองด้วยระบบกษัตริย์ หลายประเทศพยายามทำสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อหยุดอุดมการณ์

การปฎิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซียมี 2 ระยะคือ กุมภาพันธ์1917และตุลาคม1917

-ปฏิวัติกุมภาพันธ์ 1917 เป็นการสิ้นสุดการปกครองด้วยระบบกษัตริย์ พระเจ้าชาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งสาเหตุเกิดเพราะชาวรัสเซียไม่พอใจการบริหารประเทศ เศรษฐกิจตกต่ำมากๆ แต่ก็ไปรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 และความขาดแคลนอาหารเพราะนำคนไปรบเยอะ ไม่มีแรงงานผลิต แต่ตอนนี้รัสเซียยังไม่เป็นคอมมิวนิสต์ มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะการขึ้นมาปกครอง แต่ก็ยังมีนโยบายจะทำสงครามต่อ ชาวรัสเซียเดือดร้อนมาก

-ปฏิวัติ ตุลาคม 1917 รัสเซียกลายเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก โดยมี เลนิน เป็นผู้นำ ชูคำขวัญ “สันติภาพ ที่ดิน และขนมปัง”

9. สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1914-1918)

สาเหตุ

-ลัทธิจักรวรรดินิยม แต่ละประเทศกำลังแสวงหาดินแดน อังกฤษได้ไปเยอะแล้ว ฝรั่งเศสก็มี

ประเทศอื่นๆที่พึ่งรวมตัวกันได้ เช่น เยอรมนี อิตาลีก็อยากได้บ้าง จนนำไปสู่ความขัดแย้งกัน

แย่งทรัพยากร

-ลัทธิชาตินิยม ขอแบ่งเป็น 2 กรณี

°กรณีฝรั่งเศสและเยอรมนี สองประเทศนี้ติดกัน ตอนนั้นยังเป็นปรัสเซียขัดแย้งกันจนเกิดสงคราม Franco-Prasian ฝรั่งเศสแพ้ ปรัสเซียประกาศความยิ่งใหญ่ รวมประเทศเยอรมนีโดย บิสมาร์ก

°กรณีคาบสมุทรบอลข่าน บอลข่านอยู่ภายใต้อิทธิพลของออสเตรียฮังการี แต่เค้าอยากออกจากอิทธิพล เพราะเป็นชาวสลาฟเหมือนรัสเซีย หวังว่าพี่ใหญ่รัสเซียจะช่วยเป็น back ให้ ก็เลยพยายามต่อต้านออสเตรีย-ฮังการี

- ยุโรปแบ่งเป็น 2 ค่าย

°ฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อมาคือ Triple Entente อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย

°ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ต่อมาคือ Triple Alliance ได้แก่ ออสเตรีย-ฮังการี กับเยอรมนี

-ชนวนสงคราม คือการลอบปลงพระชนม์ทกุฎราชกุมารออสเตรีย ฮังการี และพระชายาโดยชาวเซอร์เบีย

-ผลที่เกิดขึ้น

°ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ แต่คนตายเยอะ ความเสียหายมากมาย

°เกิดคำแถลงการณ์ 14 ประการของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่ง USA เพื่อหาแนวทางสันติภาพ และจัดตั้งองค์กรสันนิบาตชาติ

-อเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มยิ่งใหญ่ในเวทีโลก ประเทศยุโรปเริ่มบอบช้ำ

-มีการทำสัญญาสันติภาพกับผู้แพ้ คือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ทำกับเยอรมนี ห้ามทุกอย่างทั้งทางทหารและอื่นๆ ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นๆเช่น สนธิสัญญาแซง แชแมง สนธิสัญญาเนยยี ตรินออง แชฟส์-เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ตลาดหุ้นวอลสตรีทที่อดมริกาล้ม เรียกว่าดหตุการณ์วันอังคารทมิฬ หรือ Black Tuesday เศรษฐกิจล้มเป็นทอดๆ -จักรวรรดิใหญ่ๆ เช่น ออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี ออสโตมาน ล่มสลาย

10.สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945)

-คู่สงครามคือ ฝ่ายอักษะ (อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น) และฝ่ายสัมพันธมิตร (อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส)

-เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ มีและไม่มี หรือ ระหว่างกลุ่มเสรีประชาธิปไตยและเผด็จการ

-สมรภูมิขยายตัวไปเกือบทั้งโลก อาวุธมีความรุนแรงกว่าเดิมสาเหตุ-ความไม่เป็นธรรมของสัญญาแวร์ซายส์ ก่อให้เกิดความลำบากมากๆในเยอรมนี ฮิตเลอร์จึงโน้มน้าวคน เกิดลัทธิชาตินิยมในเยอรมนี ฮิตเลอร์กลายเป็นผู้นำที่บ้าอำนาจมากๆ และจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่ 2

-เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในอเมริกาเกิด The Great Depession ในปี 1929 ตลาดหุ้น Wall Street ล้ม ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

-ความล้มเหลวขององค์กรสันนิบาตชาติ เนื่องจาก อเมริกาไม่เป็นสมาชิก อีกทั้งประเทศสมาชิกยังละเมิดกฎและองค์กรไม่มีทหารประจำการชนวนสงคราม เริ่มต้นเมื่อ เยอรมนีบุกโปแลนด์ และ ญี่ปุ่นเริ่มยึดครองดินแดนในเอเชีย รวมทั้งการบุกโจมตี Pearl Habour ของอเมริกาสงครามสิ้นสุด เมื่อฝ่ายทหารสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี หรือ วันดีเดย์ และในเอเชีย คือเมื่ออเมริกาทิ้งระเบิดปรมานูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ของญี่ปุ่นผลกระทบ

-ฝ่ายอักษะแพ้ และบางประเทศถูกแบ่งดินแดน

-เกิดองค์กรสหประชาชาติ (United Nations) เพื่อทำหน้าที่รักษาสันติภาพและความมั่นคงของโลก

-เกิดลัทธิชาตินิยมในบรรดาเมืองขึ้นในเอเชียและแอฟริกา เรียกร้องเอกราช เนื่องจากประเทศเมืองแม่มีความบอบช้ำมาก-อเมริกาและโซเวียตก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ แย่งกันยิ่งใหญ่จนเกิดสงครามเย็น

RECENT POSTS:
SEARCH BY TAGS:
bottom of page