top of page

EGYPT (อารยธรรมอียิปต์)

อารยธรรมอียิปต์ (อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์) เป็นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ อียิปต์ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน เฮโรโดตัส (Herodotus) บิดาของประวัติศาสตร์สากลได้กล่าวไว้ว่า “Egypt is the gift of the Nile” (อียิปต์เป็นของขวัญของแม่น้ำไนล์) เพราะในเดือนกรกฎาคมของทุกปีน้ำในแม่น้ำไนล์จะไหลท่วมทั้งสองฝั่งและจะเริ่มลดลงในเดือนตุลาคม เมื่อน้ำลดลงจะทิ้งโคลนตมไว้บริเวณริมฝั่งน้ำ ซึ่งเป็นปุ๋ยในการเพาะปลูกอย่างดี ชาวอียิปต์โบราณจึงรู้จักการทำนา ทำทำนบกั้นน้ำ ขุดคูส่งน้ำ ดินแดนอียิปต์ในสมัยโบราณประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ

1. อียิปต์บน (Upper Egypt) บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา ทั้งสองฝั่งแม่น้ำบริเวณนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างและเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง

2. อียิปต์ล่าง (Lower Egypt) บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัด ไหลลงสู่ทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ชาวกรีกโบราณเรียกว่าเดลต้า (Delta) เป็นบริเวณปลายสุดของแม่น้ำ ซึ่งอารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญบริเวณนี้

จากการที่ที่มีภูมิประเทศแบบนี้ทำให้เป็นการยากที่จะรวมประเทศเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งอียิปต์ก็ได้เปรียบประเทศอื่นในแถบนี้ในส่วนที่มีทะเลทรายเป็นพรมแดนธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่นๆ ไว้ได้มาก ความเจริญด้านต่างๆ ของอียิปต์มีดังนี้

- ด้านการปกครอง มีฟาโรห์เป็นผู้ปกครอง มีสถานะเป็นกึ่งเทพเจ้า มีอำนาจเด็ดขาดทั้งปวง

- ด้านสังคม อียิปต์แบ่งพลเมืองออกเป็น 7 ชั้น ดังนี้

1. ฟาโรห์เละพวกราชวงศ์ เป็นชนชั้นสูง

2. คณะสงฆ์ เป็นผู้ช่วยฟาโรห์ด้านศาสนา ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นที่มี ความสำคัญต่อประชาชน โดนประชาชนต้องเชื่อฟังพวกพระในทุกเรื่อง

3. โนมาร์คหรือขุนนาง คือพวกที่ฟาโรห์เลือกให้ไปทำหน้าที่ปกครองโนมิส (จังหวัด)

4. ทหารประจำกอง อยู่ในการควบคุมของฟาโรห์ ทำหน้าที่ ป้องกันการรุกรานและรุกรานดินแดน

5. ช่างฝีมือและพ่อค้า อียิปต์มีการติดต่อค้าขายกับเกาะครีต พวกฟินิเชียน ปาเลสไตน์ และซีเรีย มี สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ ข้าวาลี ผ้าป่านลินิน และไม้ซุง สินค้าเข้า ได้แก่เงิน ทอง งาช้าง ซึ่งทั้ง พ่อค้าและช่างฝีมือสามารถดำเนินธุรกิจของตัวเองได้อย่างอิสระ

6. พวกกสิกร มีจำนวนมากที่สุด เป็นผู้ที่แบกภาระที่หนักที่สุดของสังคม

7. พวกทาสติดที่ดินและเชลย เป็นชนชั้นต่ำที่สุด มีหน้าที่หาวัตถุดิบ เกณฑ์แรงงาน โดนเฉพาะการ ก่อสร้างโบสถ์วิหารและพีระมิด จะใช้แรงงานจากกลุ่มนี้ทั้งสิ้น และมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก

- ด้านศาสนา มีความเชื่อเรื่องโลกหลังความตายและการมีวิญญาณที่เป็มอมตะ จึงมีการสร้างสุสานขนาดใหญ่ เรียกว่า “พีระมิด” เพื่อเก็บร่างกายฟาโรห์ที่ทำให้ไม่เน่าเปื่อยด้วยการทำ “มัมมี่” ตามความเชื่อทางศาสนา บูชาเทพเจ้าหลายองค์ บูชาสัตว์ต่างๆ เช่น แมว สุนัข หมาใน วัว เหยี่ยว แกะ

- ด้านวิทยาการ ชาวอียิปต์สั่งสมความเจริญทางด้านวิทยาการให้โลก หลายแขนง ดังนี้

1. ดาราศาสตร์ คำนวณปฏิทิน 1 ปี มี 12 เดือน และแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล

2. คณิตศาสตร์ การบวก ลบ และหาร, การหาพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยม

3. การแพทย์ สามารถผ่าตัดคนไข้แบบง่ายๆได้ และคิดค้นวิธีปรุงยารักษาโรคต่างๆเป็นจำนวนมาก

4. อักษรศาสตร์ ประดิษฐ์อักษร “ไฮโรกลิฟิก” เป็นอักษรภาพ ช่วงแรกจารึกไว้ที่ผนังถ้ำ หรือพีระมิด ต่อมาค้นพบวิธีทำกระดาษจากต้นปาปิรุส จึงบันทึกลงกระดาษมากขึ้น

- ด้านชลประทาน มีการขุดคูส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และเนื่องจากความจำเป็นจากการศึกษาระดับน้ำ เวลาขึ้นลงของแม่น้ำไนล์ได้นำไปสู่การคิดเรื่องการสร้างปฏิทิน

- ด้านสถาปัตยกรรม ที่โดดเด่นที่สุดคือ พีระมิด นอกนั้นยังมีวิหารที่แกะสลักลวดลาย ภาพในพีระมิดและวิหาร จะมีงานประติมากรรมปูนปั้นเป็นรูปสัญลักษณ์ของเทพเจ้า และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ต่างๆ

- ด้านจิตกรรม พบมากในพีระมิด ส่วนใหญ่จะมีสีสันสดใส เป็นภาพของเทพจ้า ,ฟาโรห์ และวิถี ชาวบ้าน

RECENT POSTS:
SEARCH BY TAGS:
bottom of page